วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2555

ความหมายของ PLC

PLC คืออะไร?Programmable Logic Controller เครื่องควบคุมเชิงตรรกที่สามารถโปรแกรมได้
PLC : Programmable Logic Controller (มีต้นกำ เนิดจากประเทศสหรัฐอเมริกา) เป็นเครื่องควบคุมอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม
ที่ สามารถจะโปรแกรมได้ ถูกสร้างและพัฒนาขึ้นมาเพื่อทดแทนวงจรรีเลย์ อันเนื่องมาจากความต้องการที่อยากจะได้เครื่องควบ คุมที่มีราคาถูกสามารถใช้งานได้อย่างเอนกประสงค์ และสามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่าย
 ข้อแตกต่างระหว่าง PLC กับ COMPUTER1. PLC ถูกออกแบบ และสร้างขึ้นเพื่อให้ทนต่อสภาพแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ
2. การโปรแกรมและการใช้งาน PLC ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไป PLC มีระบบการตรวจสอบตัวเองตั้งแต่ช่วงติดตั้ง
    จนถึงช่วงการใช้งานทำให้การบำรุงรักษาทำได้ง่าย
3. PLCถูกพัฒนาให้มีความสามารถในการตัดสินใจสูงขึ้นเรื่อยๆทำให้การใช้งานสะดวกขณะที่วิธีใช้คอมพิวเตอร์ยุ่งยากและซับซ้อนขึ้น

ประวัติ PLC ค.ศ.1969
            PLCได้ถูกพัฒนาขึ้นมาครั้งแรกโดย บริษัท Bedford Associates โดยใช้ชื่อว่า Modular Digital Controller(Modicon) ให้กับโรงงานผลิตรถยนต์ในอเมริกาชื่อ General Motors Hydramatic Division บริษัท Allen-Bradley ได้เสนอระบบควบคุมโดยใช้ชื่อว่า PLC
ค.ศ.1970-1979
            ได้มีการพัฒนาให ้PLC มีการ ประมวลผลที่เร็วมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของ Microprocessor ความสามารถใน การสื่อสารข้อมูลระหว่าง PLC กับ PLC โดยระบบแรก คือ Modbus ของ Modicon เริ่มมีการใช้อินพุท/เอาท์พุทที่เป็นสัญญาณ Analog
ค.ศ.1980-1989
            มีความพยายามที่จะสร้างมาตรฐานใน การสื่อสารข้อมูลของ PLC โดยบริษัท General Motor ได้สร้างโปรโตคอลที่เรียกว่า manufacturing automation protocal (MAP) ขนาดของ PLC ลดลงเรื่อย ๆผลิตซอฟแวร์ที่สามารถโปรแกรม PLC ด้วยภาษา symbolic โดยสามารถโปรแกรมผ่าน ทาง personal computer แทนที่จะโปรแกรมผ่านทาง handheld หรือ programing terminal
ค.ศ.1990-ปัจัจจุบัน
           ได้มีความพยายามในการที่จะ ทำให้ภาษาที่ใช้ในการโปรแกรม PLC มีมาตราฐานเดียวกันโดยใช้ มาตรฐาน IEC1131-3 สามารถโปรแกรม PLC ได้ด้วย
                    - IL (Instruction List)
                    - LD (Ladder Diagrams)
                    - FBD (Function Block Diagrams)
                    - SFC (Sequential Function Chart)
                    - ST (Structured Text)



 โครงสร้างโดยทั่วไปของ PLC
ลักษณะโครงสร้างภายในของ PLC ซึ่งประกอบด้วย










1.ตัวประมวลผล(CPU)
          ทำ หน้าที่คำนวณเเละควบคุม ซึ้งเปรียบเสมือนสมองของ PLC ภายในประกอบด้วยวงจรลอจิกหลายชนิดและมีไมโครโปรเซสเซอร์เบส (Micro Processor Based)ใช้แทนอุปกรณ์จำพวกรีเลย์ เคาน์เตอร์/ไทม์เมอร์ และซีเควนเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถออกแบบวงจรโดยใช้ Relay Ladder Diagram ได้ CPU จะยอมรับข้อมูลจากอุปกรณ์อินพุทต่างๆ จากนั้นจะทำการประมวลผลและเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมจากหน่วยความจำ หลังจากนั้นจะส่งส่งข้อมูลที่เหมาะสมและถูกต้องออกไปยังอุปกรณ์เอาท์พุท
2.หน่วยความจำ(Memory Unit)
          ทำ หน้าที่เก็บรักษาโปรแกรมและข้อมูลที่ใช้ในการทำงาน โดยขนาดของหน่วยความจำจะถูกแบ่งออกเป็นบิตข้อมูล(Data Bit) ภายในหน่วยความจำ 1 บิต ก็จะมีค่าสภาวะทางลอจิก 0 หรือ 1แตกต่างกันแล้วแต่คำสั่ง ซึ่ง PLC ประกอบด้วยหน่วยความจำสองชนิดคือ ROM และRAM
          RAM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมของผู้ใช้และข้อมูลที่ใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC หน่วยความจำประเภทนี้จะมีแบตเตอรี่เล็กๆ ต่อไว้เพื่อใช้เป็นไฟเลี้ยงข้อมูลเมื่อเกิดไฟดับ การอ่านและการเขียนข้อมูลลงใน RAM ทำได้ง่ายมาก  เพราะฉะนั้นจึ่งเหมากับงานในระยะทดลองเครื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไข โปรแกรมอยู่บ่อยๆ
          ROM ทำหน้าที่เก็บโปรแกรมสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานของ PLC ตามโปรแกรมของผู้ใช้ หน่วยความจำแบบ ROM ยังสามารถแบ่งได้เป็น EPROM ซึ่งจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม เหมาะกับงานที่ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงโปรแกรม นอกจากนี้ยังมีแบบ EEPROM หน่วยความจำประเภทนี้ไม่ต้องใช้เครื่องมือพิเศษในการเขียนและลบโปรแกรม สามารถใช้งานได้เหมือนกับ RAM แต่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สำรอง แต่ราคาจะแพงกว่าเนื่องจากรวมคุณสมบัติของ ROM และ RAM ไว้ด้วยกัน
3.หน่วยอินพุต-เอาต์พุต (Input-Output Unit)          หน่วยอินพุต ทำหน้าที่รับสัญญาณจากอุปกรณ์ภายนอกแล้วแปลงสัญญาณให้เป็นสัญญาณที่เหมาะสมแล้วส่งให้หน่วยประมวลผลต่อไป
 หน่วยเอาต์พุต ทำหน้าที่รับข้อมูลจากตัวประมวลผลแล้วส่งต่อข้อมูลไปควบคุมอุปกรณ์ภายนอกเช่น ควบคุมหลอดไฟ มอเตอร์ และวาล์ว เป็นต้น


4.แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
          ทำหน้าที่จ่ายพลังงานและรักษาระดับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงให้กับ CPU Unit หน่วยความจำและหน่วยอินพุท/ เอาท์พุท
5.อุปกรณ์ต่อร่วม (Peripheral Devices)          • PROGRAMMING CONSOLE
          • EPROM WRITER
          • PRINTER
          • GRAPHIC PROGRAMMING
          • CRT MONITOR
          • HANDHELD
          • etc
PLC ทำ งานอย่างไร?
 

วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

รายชื่อสมาชิกในห้อง

อาจารย์     ธภัทร  ชัยชูโชด          อาจารย์ผู้สอน
นางสาว     ปิยะนุช โพธิ์ถึง           นุช
นางสาว     โศจิรัตน์   ตุ้ยนะ          แป้ง
นางสาว     วชิรญาณ์ แซ่ก๊อก       ญา
นางสาว     ปวีณา เคี่ยมขาว         แนน
นางสาว     สุนิสา หนูวงค์             กวาง
อาจารย์ ธภัทร  ชัยชูโชด     อาจารย์ผู้สอน

เทคโนโลยีการสือสาร

                
                                                          (MODEM)
                 คำว่า MODEM ย่อมาจาก MOdulator - DEModulater มีหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล ในบางรุ่นสามารถตรวจสอบความผิดพลาดของข้อมูลรวมถึงแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้ โมเด็มในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีชิปประมวลและหน่วยความจำ(ROM) อยู่ในเครื่อง
               ถ้าเครื่องโมเด็มของผู้ส่งและผู้รับต่างรุ่นกัน ก็อาจจะทำให้ไม่สามารถส่ง - รับข้อมูลกันได้ เนื่องจากโมเด็มมีอัตราเร็วของการส่ง - รับข้อมูล รูปแบบการส่ง - รับข้อมูล หรือใช้คำสั่งควบคุมการทำงานของโมเด็มต่างกัน(คำสั่งที่ถือเป็นรูปแบบคำสั่งมาตราฐานของโมเด็มคือคำสั่งเฮยส์,Hayes )ดังนั้นในการเลือกใช้โมเด็มยังต้องคำนึงถึงรุ่น และยี่ห้อของเครื่องที่สามารถใช้ร่วมกันได้ รวมถึงสามรถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ได้ด้วย
              วีธีการส่งข้อมูล
          สำหรับวิธีการส่งข้อมูลของโมเด็มจะอาศัยเทคนิคการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณอนาล็อกดังได้กล่าวมาแล้วในบทที่ 3 คือ
1.             วิธีแบบ ASK (Amplitude shift Keying) ในการมอดูเลตแบบ AM
2.             วิธีแบบ FSK (Freequency Shift Keying) ในการมอดูเลตแบบ FM
3.             วิธีแบบ PSK (Phase Shift Keying) ในการมอดูเลตแบบ PM
4.             วิธีการมอดูเลต แบบ QAM (Quadrature Amplitude Modulation) ซื่งเป็นการมอดูเลตสัญญาณข้อมูลโดยอาศัยหลักการของ AM และ PM รวมกันกล่าวคือสัญญาณข้อมูลจะรวมเข้ากับสัญญาณคลื่นพาห์เมื่อแอมปลิจูดและเฟสของสัญญาณเปลี่ยนแปลง
           วิธีแบบ ASK จะใช้กับการส่งข้อมูล อัตราเร็วต่ำ วิธีแบบ FSK จะใช้ในการส่งข้อมูลด้วยอัตราเร็วปานกลาง ส่วนวิธีแบบ PSK และ QAM เราใช้ในการส่งข้อมูลอัตราเร็วสูง
             รูปแบบข้อมูล
                   ส่วนรูปแบบของข้อมูลที่โมเด็ลส่งผ่านไปสู่สายสื่อสารสามารถแยกได้ ตามประเภทของโมเด็มคือ โมเด็มแบบ อะซิงโครนัสและโมเด็มแบบซิงโครนัส
            อัตราเร็วข้อมูล
                   อัตราเร็วในการส่งข้อมูลแบ่งออกเป็น 3ระดับ คือ
1.             อัตราเร็วต่ำประมาณ 300 บิตต่อนาที (ส่วนใหญ่เป็นโมเด็มแบบอะซิงโครนัส และใช้กับซีพียูขนาด 8 บิต)
2.             อัตราเร็วปานกลาง อยู่ในช่วง 1,200 - 9,600 บิตต่อวินาที (มีทั้งโมเด็มแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส และใช้กับซีพียูขนาด 16 บิต)
3.             อัตราเร็วสูง มากกว่า 9,600 บิตต่อวินาที (ส่วนใหญ่เป็๋นโมเด็มแบบซิงโครนัส และใช้กับซีพียูขนาด 32 หรือ 64 บิต)
           คุณสมบัติ
                ข้อพิจารณา ขีดความสามารถในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มที่ควรจะมี ได้แก่
1.             สามารถตรวจสอบและแก้ไขความผิดพลาดของข้อมูลที่รับเข้ามาได้ด้วยชิบประมวลผลในโมเด็ม
2.             สามารถวิเคราะห์และทดสอบข้อมูล เพื่อแยกข้อบกพร่องและความผิดพลาด
3.             สามารถควบคุมการทำงานของโมเด็มได้จากผู้ใช้ หรือคอมพิวเตอร์จากที่อื่น
4.             สามารถมีเครื่องโมเด็มสำรอง เพื่อใช้ทำงานแทนได้เมื่อเครื่องหลักเสีย
5.             สามารถรับและส่งข่าวสารได้ทั้งเสียง ภาพ ข้อความ และข้อมูล
 

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว

นางสาว เกษศิรินทร์ ปิ่นทองพันธ์ 
ชื่อเล่น นู๋อ้อม อายุ 22 ปี 
กำลังศึกษาอยู่ที่มหาลัยราชภัำำำำำำำฎสงขลา
คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมโปรแกรมวิชา การจัดการอุตสาหกรรม 
โดนท่านเทวดาถืบส่งมาจากบนฟ้าเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2533 
กระท้อมปลายนาหลังแรกและปัจจุบัน 317 หมู่ 5 ตำบล เขาพระ อำเภอ รัตภูมิ จังหวัด สงขลา 90180
E-mail\\ Pomzaazeed@hotmail.com
G-mail\\ Pomzaazeed@Gmail.com
โทร 089-9133981